Print this page

สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง

      เทศบาลตำบลนาเรือง ตั้งอยู่ หมู่ 7 ตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ครอบคลุมพื้นที่ ๑ ใน ๓ ตำบลในเขตอำเภอนาเยีย ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ ๓๐ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๖๐๘ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๙ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ บ้านนาเรือง, หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ, หมู่ที่ ๓ บ้านหินลาด, หมู่ที่ ๔ บ้านโนนงาม, หมู่ที่ ๕ บ้านหนองกระบือ, หมู่ที่ ๖ บ้านแก้งยาง, หมู่ที่ ๗ บ้านนาเรืองน้อย, หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย, และ หมู่ที่ ๙ บ้านทุ่งศรีเมือง มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง คือ ตำบลนาเยีย ตำบลนาส่วง

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ จรด ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย
  • ทิศตะวันออก จรด ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย
  • ทิศตะวันตก จรด ตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม
  • ทิศใต้ จรด ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม

ลักษณะภูมิประเทศ

      ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ลาบสูงสลับที่ดอน อยู่ทิศใต้ของอำเภอนาเยียห่างประมาณ ๖ กิโลเมตร มีแม่น้ำสายหลักคือ ลำโดมใหญ่ และมีห้วย หนอง อยู่เป็นจำนวนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ราษฎรใช้ทำการเกษตร เช่น การทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น และในห้วงฤดูแล้งได้ประกอบอาชีพเสริม คือ ทอผ้า รับจ้างทั่วไป ราษฎรส่วนใหญ่ที่อาศัยในเขตตำบลนาเรือง เดิม เป็นราษฎรที่อาศัยอยู่ที่ ตำบลนาส่วงและตำบลนาเยีย ซึ่งต่อมาได้ประกอบอาชีพทำนาและได้โยกย้ายมาอาศัยอยู่ที่ทุ่งนา และได้ก่อตั้งเป็นชุมชนใหม่ขึ้น จนกระทั่งได้ยกฐานะเป็นตำบลนาเรือง

ลักษณะภูมิอากาศ

    มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง หรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู ฤดูกาลมี ๓ ฤดู คือ

  • ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม หรือเดือนมิถุนายน และไปสิ้นสุดในเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นระยะเปลี่ยนฤดูฝนมาเป็นฤดูหนาว
  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

ลักษณะของดิน

      ลักษณะของดินในเขตตำบลนาเรือง เป็นที่ราบสูงสลับดอน พื้นที่ดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การทำนาและทำไร่

แหล่งน้ำ

          ประชากรในเขตตำบลนาเรืองส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนตามฤดูกาล และบางส่วนขุดสระ ขุดบ่อ เจาะบาดาลใช้น้ำเอง และระบบน้ำประปาหมู่บ้าน ในการอุปโภค-บริโภค และแหล่งน้ำตามธรรมขชาติ ดังนี้

    1. แม่น้ำ ๑ สาย ได้แก่ ลำโดมใหญ่ ไหลผ่าน หมู่ ๖, ๕, ๓, ๘ และ หมู่ ๒
    2. ห้วย
    3. -ห้วยนางตุ้ม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านทุ่งศรีเมือง

      -ห้วยยาง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ บ้านแก้งยาง

      -ห้วยแก้งก้อม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ

      -ห้วยหินลาด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓, ๘ บ้านหินลาด

      -ห้วยตาด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านหนองกระบือ

      -ห้วยจาน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย

      -ห้วยไข่นุ่น ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย

      -ห้วยบักโก๊ก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ

      -ห้วยเม็ก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ บ้านแก้งยาง

    4. หนอง
    5. -หนองผือ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ

      -หนองใหญ่(กุดน้ำใส) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ

      -หนองใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย

      -หนองสิม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย

      -หนองควาย ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านหนองกระบือ

      -หนองฮาง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านหินลาด

ประชากร

          ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลนาเรือง ๙ หมู่บ้าน มีประชากรรวม ทั้งสิ้น ๖,๗๙๕ คน เป็นชาย ๓,๔๓๘ คน และหญิง ๓,๓๕๗ คน จำนวน ๒,๑๘๕ หลังคาเรือน ดังนี้

    หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง ครัวเรือน
    บ้านนาเรือง ๓๓๕ ๓๔๓ ๑๙๔
    บ้านม่วงคำ ๒๑๓ ๑๖๙ ๑๒๘
    บ้านหินลาด ๓๘๗ ๓๘๖ ๑๒๐
    บ้านโนนงาม ๔๔๒ ๔๖๘ ๓๕๗
    บ้านหนองกระบือ ๔๑๙ ๓๘๕ ๒๑๒
    บ้านแก้งยาง ๒๓๗ ๒๔๙ ๑๙๙
    บ้านนาเรืองน้อย ๕๐๗ ๔๙๓ ๒๑๐
    บ้านหินลาดน้อย ๒๙๐ ๓๖๔ ๒๓๖
    บ้านทุ่งศรีเมือง ๕๐๘ ๕๐๐ ๒๐๙

          ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอนาเยีย (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน พ.ศ. 2564)

    การศึกษา

          มีสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลนาเรือง ดังนี้

    1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาเรือง จำนวน ๔ แห่ง
    2. - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเรือง

      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหินลาด

      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนงาม

      -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแก้งยาง

    3. โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๖ แห่ง
    4. - โรงเรียนบ้านนาเรือง

      - โรงเรียนบ้านม่วงคำ

      - โรงเรียนบ้านหินลาด

      - โรงเรียนบ้านโนนงาม

      - โรงเรียนบ้านหนองกระบือ

      - โรงเรียนบ้านแก้งยาง

    5. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง
    6. - โรงเรียนบ้านนาเรือง

    สาธารณสุข

    1. โรงพยาบาลอำเภอนาเยีย จำนวน ๑ แห่ง
    2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเรือง จำนวน ๑ แห่ง
    3. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน ๙ แห่ง

    การคมนาคมขนส่ง

     เทศบาลตำบลนาเรือง มีเส้นทางการโทรคมนาคมที่สำคัญคือ

  1. - มีถนนทางหลวงชนบทหมายเลข ๒๐๑๒ สายอำเภอนาเยีย - บ้านหนองสำราญ ตัดผ่านความยาว ๕ กิโลเมตร
  2. - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๕๘ สาย
  3. - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก/ลูกรัง จำนวน ๒๓ สาย
  4. - ถนนลูกรัง/ดิน จำนวน ๖๖ สาย
  5. - ถนนลาดยาง จำนวน ๑ สาย

การไฟฟ้า

          ในเขตเทศบาลตำบลนาเรือง มีไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้านทั้ง ๙ หมู่บ้าน โดยประชากรใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ แต่ไฟฟ้าเพื่อการเกษตรยังไม่เพียงพอ

    ที่ สถานที่ จำนวน (จุด)
    บ้านนาเรือง ๓๘
    บ้านม่วงคำ ๓๑
    บ้านหินลาด ๔๘
    บ้านโนนงาม ๗๓
    บ้านหนองกระบือ ๗๔
    บ้านแก้งยาง ๔๔
    บ้านนาเรืองน้อย ๑๑๐
    บ้านหินลาดน้อย ๕๑
    บ้านทุ่งศรีเมือง ๔๙

          ที่มา : กองช่าง เทศบาลตำบลนาเรือง (ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564)

    การเกษตร

          ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม การทำนาเป็นอาชีพหลัก ทำไร่ยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง และได้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อเป็นอาชีพเสริม เช่น พริก ข้าวโพด มะนาว พุทราสามรส ถั่วฝักยาว แตง ฯลฯ

    การปศุสัตว์

          ตำบลนาเรือง มีปศุสัตว์ประจำตำบลนาเรือง ๑ คน มีแพทย์อาสาประจำตำบล ๑ คน และมีกลุ่มเลี้ยงสัตว์ดังนี้

    ที่ กลุ่ม จำนวน (กลุ่ม) จำนวน (คน)
    กลุ่มเลี้ยงเป็ด ๓๗
    กลุ่มเลี้ยงสุกร ๑๒
    กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ๖๐
    กลุ่มเลี้ยงโค ๑๙
    กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงสัตว์

    การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

      ตำบลนาเรืองมีร้านค้า โรงผลิตน้ำ ขายวัสดุก่อสร้าง/ประปา ปั้มน้ำมัน อู่ซ่อมรถ ฯลฯ มีกลุ่มอาชีพดังนี้

      ที่ กลุมอาชีพ จำนวน (กลุ่ม) จำนวน (คน)
      กลุ่มแม่บ้าน ๓๐๔
      กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ๕๓
      กลุ่มป๋ยอินทรีย์ ๘๐
      กลุ่มทอผ้ากี่กระตุก ๑๐๖
      กลุ่มเลี้ยงเป็ด ๒๗
      กลุ่มเลี้ยงสุกร ๑๒
      กลุ่มสานตะกร้า ๓๐
      กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ๖๐
      กลุ่มสานตะกร้าพลาสติก ๓๐
      ๑๐ กลุ่มเลี้ยงโค ๑๙
      ๑๑ กลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ ๑๙
      ๑๒ กลุ่มอาสาสมัครสาะารณสุขมูลฐาน ๑๔๐
      ๑๓ กลุ่มผู้ปลูกยางพารา ๑๖๐

      แรงงาน

           ตำบลนาเรืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แรงงานส่วนมากจะจ้างกันเองในพื้นที่

      การนับถือศาสนา

            ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชนทั้งหมดในเขตเทศบาล มีวัด ๖ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๓ แห่ง

      ประเพณีและงานประจำ

      1. ตำบลนาเรือง มีการสืบทอดประเพณีตามสมัยโบราณ สืบทอดกันรุ่นสู่รุ่น ซึ่งประเพณีและงานประจำปี มีดังนี้
      2. บุญผะเหวด เดือน เมษายน
      3. บุญบั้งไฟ จัดขึ้นทุกๆ ๔ ปี
      4. บุญเข้าพรรษา เดือน กรกฎาคม
      5. ประเพณีสงกรานต์ เดือน เมษายน
      6. บุญออกพรรษา เดือน ตุลาคม
      7. งานบุญกฐิน ระยะเวลา ๑ เดือน หลังออกพรรษา
      8. งานบุญผ้าป่า
      9. งานบุญข้าวประดับดิน (วันแรม ๑๔-๑๕ ค่ำเดือน ๙)
      10. งานบุญข้าวสาก (หรือบุญสลากภัตร ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๐)
      11. บุญมหาชาติ

      ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

      1. ประชาชนตำบลนาเรือง ใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสานในการสื่อสาร ภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ
      2. มีช่างหัตถกรรม (เครื่องจักสาน)
      3. การทอผ้าด้วยกี่กระตุก
      4. หมอพิณ
      5. หมอพราหมณ์
      6. การทำบายศรีสู่ขวัญ