สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ตั้งอยู่เลขที่ 299 หมู่ 14 ถนน นาไฮ - กุดข้าวปุ้น อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี ครอบคลุมพื้นที่ ๑ ตำบล (บางส่วน) รวม ๑๐ ชุมชน ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๗๗๘ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๖ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑, หมู่ที่ ๒, หมู่ที่ ๕, หมู่ที่ ๘, หมู่ที่ ๑๐ และ หมู่ที่ ๑๔ มีชุมชนในพื้นที่ จำนวน ๑๐ ชุมชน
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดเขต บ้านโคกเลาะ ตำบลข้าวปุ้น และบ้านหนองยาง ตำบลโนนสวาง
- ทิศใต้ ติดเขต บ้านโนนดอกแก้ว ตำบลกาบิน
- ทิศตะวันออก ติดเขต บ้านโคกเลาะ และบ้านโคกก่อง ตำบลข้าวปุ้น
- ทิศตะวันตก ติดเขต บ้านตุและ บ้านป่าข่า ตำบลกาบิน
ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอกุดข้าวปุ้นเป็น ซึ่งมีลักษณะพื้นผิวสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ ๐-๒๐๐ เมตร ลักษณะทั่วไปจึงเป็นที่ราบและที่ลูกคลื่นเล็กน้อย มีความลาดเอียงต่ำกว่า ๒% ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น เป็นที่ราบเรียบ บริเวณชุมชนมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๗
ลักษณะภูมิอากาศ
- ฤดูฝน เดือนเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงปลายฤดูฝนมีพายุดีเปรสชั่น ฝนตกชุก
- ฤดูหนาว ได้รับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนภูมิภาคอื่นเนื่องจากอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศไทย อุณหภูมิเริ่มต่ำตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ หนาวจัดในช่วงปลายเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยในระดับ ๑๖.๕ องศาเซลเซียส
- ฤดูร้อน เริ่มเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีฝนเล็กน้อยในปลายเดือนเมษายน แต่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก อุณหภูมิเฉลี่ยในระดับ ๓๔.๘ องศาเซลเซียส โดยทั่วไปสภาพอากาศไม่ร้อน หรือหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีในระดับ ๒๒-๓๒ องศาเซลเซียส
ลักษณะของดิน
การตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน การตั้งถิ่นฐานของเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขึ้นในบริเวณเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น และบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๗) ทำให้การเจริญเติบโตของชุมชนเลียบไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๗ สามารถจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดังนี้ (ตารางที่ ๑.๓)
- การใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย จะกระจายตัวอยู่โดยทั่วไปในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้นเป็นส่วนใหญ่ จะรวมตัวหนาแน่นบริเวณหมู่ที่ ๑,๘,๑๔ โดยหนาแน่นตามเส้นทางคมนาคม ลักษณะของอาคารในบริเวณที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นอาคารไม้ ส่วนบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางของชุมชน เป็นลักษณะบ้านเรือนแบบชนบท การใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยมีพื้นที่ประมาณ ๑๑๒.๕ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๙.๗๕ ของพื้นที่เขตวางผัง
- การใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม หรือการค้าจะรวมกลุ่มบริเวณหมู่ที่ ๑๔ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนในบริเวณริมถนนกุดข้าวปุ้น – นาไฮ ใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนี้ด้วยอาคารร้านค้า และตลาดสด ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๑๑.๒๕ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๐.๙๗ ของพื้นที่เขตวางผัง
- การใช้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ การใช้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมในชุมชนเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้นประกอบด้วยโรงสีโรงซ่อมเครื่องยนต์และโกดังสินค้าการใช้ที่ดินประเภทนี้มีพื้นที่ประมาณ ๔๖.๘๗ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๔.๐๖ ของพื้นที่เขตวางผัง
- การใช้ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย โรงเรียนรัฐบาล จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนชุมชนบ้านข้าวปุ้นศาสนานุเคราะห์(ระดับประถมศึกษา)และโรงเรียนกุดข้าวปุ้นวิทยา(ระดับมัธยมศึกษา) ให้บริการในเขตตำบลกุดข้าวปุ้นและพื้นที่ใกล้เคียงการใช้ที่ดินประเภทนี้มีพื้นที่ประมาณ ๕๙.๓๘ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๕.๑๕ ของพื้นที่เขตวางผัง
- การใช้ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา มีวัดภายในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ๕ แห่ง คือ วัดธัญญุตตมาราม วัดป่าศิลาราม วัดศรีบุญเรือง วัดบ้านวังนอง วัดบ้านหินโงม และสำนักสงฆ์จำนวน ๑ แห่ง ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๑๘.๗๕ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๑.๖๒ ของพื้นที่เขตวางผัง
- การใช้ที่ดินประเภทสถาบันราชการและสาธารณูปโภค การใช้ที่ดินประเภทนี้ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ หมู่ ๑๔ ซึ่งประกอบด้วย ที่ว่าการอำเภอ เทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น สถานีตำรวจ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ห้องสมุดประชาชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดข้าวปุ้น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โรงพยาบาลกุดข้าวปุ้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๕๐ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๔.๓๓ ของพื้นที่เขตวางผัง
- การใช้ที่ดินประเภทสวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๑.๒ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๐.๑๑ ของพื้นที่เขตวางผัง
ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ๖ หมู่บ้าน ๑๐ ชุมชน มีประชากรรวม ทั้งสิ้น ๔,๑๓๓ คน เป็นชาย ๒,๑๑๔ คน และหญิง ๒,๐๑๙ คน จำนวน ๑,๓๗๐ หลังคาเรือน ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | ครัวเรือน |
---|---|---|---|---|
๑ | บ้านข้าวปุ้น | ๕๒๐ | ๔๘๓ | ๓๕๔ |
๒ | บ้านนาสีดา | ๓๑๘ | ๓๑๐ | ๑๔๗ |
๕ | บ้านหินโงม | ๒๑๕ | ๑๗๙ | ๙๒ |
๘ | บ้านข้าวปุ้น | ๓๕๕ | ๓๓๔ | ๒๑๕ |
๑๐ | บ้านวังนอง | ๒๓๗ | ๒๒๔ | ๑๐๐ |
๑๔ | นาโพธิ์ | ๔๖๙ | ๔๘๙ | ๔๖๒ |
ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอกุดข้าวปุ้น (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน พ.ศ. 2560)
การศึกษา
มีสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ๓ แห่ง ดังนี้
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา (โรงเรียนชุมชนบ้านข้าวปุ้น) จำนวน ๑ แห่ง
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (โรงเรียนกุดข้าวปุ้นวิทยา) จำนวน ๑ แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกดุข้าวปุ้น จำนวน ๑ แห่ง
สาธารณสุข
- โรงพยาบาลอำเภอกุดข้าวปุ้น จำนวน ๑ แห่ง
- สาธารณสุขอำเภอกุดข้าวปุ้น จำนวน ๑ แห่ง
การคมนาคมขนส่ง
ถนนสายหลัก คือ ถนนนาไฮ – กุดข้าวปุ้น (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๗) เป็นเส้นทางที่ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี สภาพถนนเป็นถนนผิวจราจรแอสฟัลท์ มีขนาดเขตทาง ๓๐ เมตร ผิวจราจร ๗ เมตร ๔ ช่องทางจราจร มีความยาวในเขตเทศบาล ๒,๓๘๐ เมตร
ถนนสายรอง คือ ถนนกุดข้าวปุ้น – ม่วงเดียด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๙) สภาพถนนเป็นถนนผิวจราจรแอสฟัลท์ มีขนาดเขตทาง ๘ เมตร ผิวจราจร ๕ เมตร ถนนภายในชุมชน สภาพถนนส่วนใหญ่เป็นถนน คสล. มีขนาดเขตทางตั้งแต่ ๖-๑๐ เมตร
การคมนาคมขนส่งสามารถติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวก โดยทางรถยนต์ ซึ่งมีรถบัสโดยสารประจำทาง สายอุบลราชธานี – กุดข้าวปุ้น เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น และพื้นที่ใกล้เคียงมีดังนี้
- จำนวนถนนลูกรัง ๙ สาย
- จำนวนถนนลาดยาง ๑ สาย
- จำนวนถนนคอนกรีต ๔๒ สาย
- จำนวนถนนอื่นๆ ๔ สาย
- จำนวนสะพานคอนกรีต ๑ แห่ง
- จำนวนสะพานอื่น ๆ ๓ แห่ง
การไฟฟ้า
การให้บริการไฟฟ้าแก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ไฟฟ้าที่ผลิตโดยการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของพื้นที่
การประปา
การให้บริการประปาแก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้นส่วนใหญ่เป็นระบบประปาหมู่บ้าน และมีระบบประส่วนภูมิภาคในเขตส่วนราชการ จำนวนครัวเรือนมีน้ำประปาใช้ ๑,๐๗๖ ครัวเรือน
โทรศัพท์
โดยส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์ส่วนบุคคล โดยได้รับมีสัญญาณโทรศัพท์จาก คลื่นสัญญาณ AIS DTAC TRUEMOVE
ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ประชาชนในพื้นที่ตำบลข้าวปุ้น ได้รับการบริการจากเขตบริการไปรษณีย์อำเภอกุดข้าวปุ้นมีหอกระจายข่าว ในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ ๑๐๐ ของพื้นที่เทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น และประชาชนได้รับการบริการ internet ฟรีจาก โครงการ internet ตำบลของเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น โดยเปิดให้บริการ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ในวัน และเวลาราชการ
การเกษตร
เกษตร สภาพทางเศรษฐกิจของเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น เป็นสภาพเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองเป็นหลัก กว่าร้อย ละ ๙๐ ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม อาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติเป็นหลัก เช่น การทำนา การปลูกมันสำปะหลัง การปลูกยาพารา เป็นต้น หลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้วคนในพื้นที่ก็จะว่างงานเนื่องจาก ไม่มีอาชีพรองรับ ส่วนอีกร้อยละ 10 ประกอบอาชีพอื่น ๆ
การปศุสัตว์
เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่่น การ เลี้ยงไก่ เป็ด โค กระบือ
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- สถานีบริการน้ำมัน จำนวน ๓ แห่ง
- ตลาดสด จำนวน ๑ แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป จำนวน ๗๐ แห่ง
- โรงฆ่าสัตว์ จำนวน ๑ แห่ง
- ธนาคาร จำนวน ๓ แห่ง
- สถานบริการเกี่ยวกับ Internet จำนวน ๒ แห่ง
- โรงสีข้าว ๑๖ แห่ง
- ร้านตัดผมชาย ๗ แห่ง
- ร้านเสริมสวย ๗ แห่ง
- มีมินิมาร์ท จำนวน ๒ แห่ง
- 7eleven จำนวน ๑ แห่ง
- เทสโก้โลตัส จำนวน ๑ แห่ง
- ร้านขายยา จำนวน ๒ แห่ง
- ร้านซ่อมรถ จำนวน ๑๔ แห่ง
- โรงเรือนเลี้ยงสุกร จำนวน ๑ แห่ง
- โรงเรือนตัดเย็บ จำนวน ๕ แห่ง
- ไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง
- ร้านรับซื้อของเก่า จำนวน ๑ แห่ง
- ร้านเบ็ดเตล็ด จำนวน ๒๖ แห่ง
แรงงาน
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๐ ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ทำไร่ ทำสวน เป็นการประกอบอาชีพภายในครัวเรือน จึงไม่มีความจำเป็นต้องจ้างแรงงาน หรือาจจะมีบ้างในช่วง ในฤดูการทำนาอาจจะใช้แรงงาน แรงงานโดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคการเกษตร
การนับถือศาสนา
ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชนทั้งหมดในเขตเทศบาล มีวัด ๕ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๑ แห่ง
ประเพณีและงานประจำ
- ประเพณีลอยกระทง เทศบาลได้จัดงานประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจัดให้มีการแข่งกีฬาชนิดต่าง ๆ ในช่วงกลางวัน และการประกวดนางนพมาศ ประกวดกระทง การแสดงมหรสพ การแสดงของเด็กนักเรียน และมอบรางวัลต่าง ๆ ในช่วงกลางคืน
- งานบุญเลี้ยงบ้าน ประมาณเดือน พฤษภาคม ของทุกปี ทุกครอบครัวจะทำพิธี เซ่นไหว้ ดอนเจ้าปู่ ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคารพ นับถือ มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ก่อนการทำนา ไถ หว่าน ชาวบ้านจะจัดให้มีพิธีไหว้ บวงสรวง ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าผู้ที่ได้กระทำพิธีดังกล่าวแล้ว จะทำให้ข้าวในนาเจริญงอกงามดี จะได้ผลผลิตจากการทำนามากขึ้น ประชาชนมีความผาสุก อยู่ดี กินดี
- งานบุญมหาชาติพระเวสสันดร โดยเทศบาลจัดร่วมกับส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชนในพื้นที่ เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น รวมทั้งงานเข้าพรรษางานทอดกฐิน , ประเพณีสงกรานต์ และงานบุญคุ้มต่าง ๆ
- ประเพณีบุญบั้งไฟ ในปีที่ผ่านมาเทศบาล ฯ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีของไทยให้คงอยู่สืบไปชั่วลูกหลาน โดยจัดให้มีการแข่งขันการแข่งกลองเส็ง ขบวนแห่บ้องไฟ การฟ้อนรำ การแสดงตลกประกอบในขบวน การแข่งขันบั้งไฟ ในภาคกลางวัน การแสดงมหรสพ การมอบรางวัล ในภาคกลางคืน และได้รับความร่วมมือจากประชาชนในเขตเทศบาล เป็นอย่างดี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ได้อนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน การใช้ประโยชน์และรักษาจากสมุนไพรพื้นบ้าน
- ภาษาถิ่น ภาษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดสำหรับการ สื่อสารเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น และใช้ภาษไทยสำหรับในการติดต่อราชการหรือกับหน่วยงานต่างของทางราชการ
- สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและ เหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
- น้ำ ที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค ส่วนมากใช้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำจากระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อการอุปโภค บริโภค ซึ่งในช่วงฤดูแล้งบางหมูบ้านจะขาดแคลนน้ำ อุปโภค บริโภค ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ต้องจัดให้มีบริการรถน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเขตเทศบาล