ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลนาเรือง ตั้งอยู่ หมู่ 7 ตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ครอบคลุมพื้นที่ ๑ ใน ๓ ตำบลในเขตอำเภอนาเยีย ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ ๓๐ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๖๐๘ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๙ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ บ้านนาเรือง, หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ, หมู่ที่ ๓ บ้านหินลาด, หมู่ที่ ๔ บ้านโนนงาม, หมู่ที่ ๕ บ้านหนองกระบือ, หมู่ที่ ๖ บ้านแก้งยาง, หมู่ที่ ๗ บ้านนาเรืองน้อย, หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย, และ หมู่ที่ ๙ บ้านทุ่งศรีเมือง มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง คือ ตำบลนาเยีย ตำบลนาส่วง
อาณาเขต
- ทิศเหนือ จรด ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย
- ทิศตะวันออก จรด ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย
- ทิศตะวันตก จรด ตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม
- ทิศใต้ จรด ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ลาบสูงสลับที่ดอน อยู่ทิศใต้ของอำเภอนาเยียห่างประมาณ ๖ กิโลเมตร มีแม่น้ำสายหลักคือ ลำโดมใหญ่ และมีห้วย หนอง อยู่เป็นจำนวนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ราษฎรใช้ทำการเกษตร เช่น การทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น และในห้วงฤดูแล้งได้ประกอบอาชีพเสริม คือ ทอผ้า รับจ้างทั่วไป ราษฎรส่วนใหญ่ที่อาศัยในเขตตำบลนาเรือง เดิม เป็นราษฎรที่อาศัยอยู่ที่ ตำบลนาส่วงและตำบลนาเยีย ซึ่งต่อมาได้ประกอบอาชีพทำนาและได้โยกย้ายมาอาศัยอยู่ที่ทุ่งนา และได้ก่อตั้งเป็นชุมชนใหม่ขึ้น จนกระทั่งได้ยกฐานะเป็นตำบลนาเรือง
ลักษณะภูมิอากาศ
- ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม หรือเดือนมิถุนายน และไปสิ้นสุดในเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นระยะเปลี่ยนฤดูฝนมาเป็นฤดูหนาว
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง หรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู ฤดูกาลมี ๓ ฤดู คือ
ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในเขตตำบลนาเรือง เป็นที่ราบสูงสลับดอน พื้นที่ดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การทำนาและทำไร่
- แม่น้ำ ๑ สาย ได้แก่ ลำโดมใหญ่ ไหลผ่าน หมู่ ๖, ๕, ๓, ๘ และ หมู่ ๒
- ห้วย
- หนอง
ประชากรในเขตตำบลนาเรืองส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนตามฤดูกาล และบางส่วนขุดสระ ขุดบ่อ เจาะบาดาลใช้น้ำเอง และระบบน้ำประปาหมู่บ้าน ในการอุปโภค-บริโภค และแหล่งน้ำตามธรรมขชาติ ดังนี้
-ห้วยนางตุ้ม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านทุ่งศรีเมือง
-ห้วยยาง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ บ้านแก้งยาง
-ห้วยแก้งก้อม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ
-ห้วยหินลาด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓, ๘ บ้านหินลาด
-ห้วยตาด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านหนองกระบือ
-ห้วยจาน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย
-ห้วยไข่นุ่น ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย
-ห้วยบักโก๊ก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ
-ห้วยเม็ก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ บ้านแก้งยาง
-หนองผือ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ
-หนองใหญ่(กุดน้ำใส) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ
-หนองใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย
-หนองสิม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย
-หนองควาย ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านหนองกระบือ
-หนองฮาง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านหินลาด
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาเรือง จำนวน ๔ แห่ง
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๖ แห่ง
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง
- โรงพยาบาลอำเภอนาเยีย จำนวน ๑ แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเรือง จำนวน ๑ แห่ง
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน ๙ แห่ง
- - มีถนนทางหลวงชนบทหมายเลข ๒๐๑๒ สายอำเภอนาเยีย - บ้านหนองสำราญ ตัดผ่านความยาว ๕ กิโลเมตร
- - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๕๘ สาย
- - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก/ลูกรัง จำนวน ๒๓ สาย
- - ถนนลูกรัง/ดิน จำนวน ๖๖ สาย
- - ถนนลาดยาง จำนวน ๑ สาย
ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลนาเรือง ๙ หมู่บ้าน มีประชากรรวม ทั้งสิ้น ๖,๗๙๕ คน เป็นชาย ๓,๔๓๘ คน และหญิง ๓,๓๕๗ คน จำนวน ๒,๑๘๕ หลังคาเรือน ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | ครัวเรือน |
---|---|---|---|---|
๑ | บ้านนาเรือง | ๓๓๕ | ๓๔๓ | ๑๙๔ |
๒ | บ้านม่วงคำ | ๒๑๓ | ๑๖๙ | ๑๒๘ |
๓ | บ้านหินลาด | ๓๘๗ | ๓๘๖ | ๑๒๐ |
๔ | บ้านโนนงาม | ๔๔๒ | ๔๖๘ | ๓๕๗ |
๕ | บ้านหนองกระบือ | ๔๑๙ | ๓๘๕ | ๒๑๒ |
๖ | บ้านแก้งยาง | ๒๓๗ | ๒๔๙ | ๑๙๙ |
๗ | บ้านนาเรืองน้อย | ๕๐๗ | ๔๙๓ | ๒๑๐ |
๘ | บ้านหินลาดน้อย | ๒๙๐ | ๓๖๔ | ๒๓๖ |
๙ | บ้านทุ่งศรีเมือง | ๕๐๘ | ๕๐๐ | ๒๐๙ |
ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอนาเยีย (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน พ.ศ. 2564)
การศึกษา
มีสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลนาเรือง ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเรือง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหินลาด
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนงาม
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแก้งยาง
- โรงเรียนบ้านนาเรือง
- โรงเรียนบ้านม่วงคำ
- โรงเรียนบ้านหินลาด
- โรงเรียนบ้านโนนงาม
- โรงเรียนบ้านหนองกระบือ
- โรงเรียนบ้านแก้งยาง
- โรงเรียนบ้านนาเรือง
สาธารณสุข
การคมนาคมขนส่ง
เทศบาลตำบลนาเรือง มีเส้นทางการโทรคมนาคมที่สำคัญคือ
การไฟฟ้า
- ตำบลนาเรือง มีการสืบทอดประเพณีตามสมัยโบราณ สืบทอดกันรุ่นสู่รุ่น ซึ่งประเพณีและงานประจำปี มีดังนี้
- บุญผะเหวด เดือน เมษายน
- บุญบั้งไฟ จัดขึ้นทุกๆ ๔ ปี
- บุญเข้าพรรษา เดือน กรกฎาคม
- ประเพณีสงกรานต์ เดือน เมษายน
- บุญออกพรรษา เดือน ตุลาคม
- งานบุญกฐิน ระยะเวลา ๑ เดือน หลังออกพรรษา
- งานบุญผ้าป่า
- งานบุญข้าวประดับดิน (วันแรม ๑๔-๑๕ ค่ำเดือน ๙)
- งานบุญข้าวสาก (หรือบุญสลากภัตร ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๐)
- บุญมหาชาติ
- ประชาชนตำบลนาเรือง ใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสานในการสื่อสาร ภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ
- มีช่างหัตถกรรม (เครื่องจักสาน)
- การทอผ้าด้วยกี่กระตุก
- หมอพิณ
- หมอพราหมณ์
- การทำบายศรีสู่ขวัญ
ในเขตเทศบาลตำบลนาเรือง มีไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้านทั้ง ๙ หมู่บ้าน โดยประชากรใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ แต่ไฟฟ้าเพื่อการเกษตรยังไม่เพียงพอ
ที่ | สถานที่ | จำนวน (จุด) |
---|---|---|
๑ | บ้านนาเรือง | ๓๘ |
๒ | บ้านม่วงคำ | ๓๑ |
๓ | บ้านหินลาด | ๔๘ |
๔ | บ้านโนนงาม | ๗๓ |
๕ | บ้านหนองกระบือ | ๗๔ |
๖ | บ้านแก้งยาง | ๔๔ |
๗ | บ้านนาเรืองน้อย | ๑๑๐ |
๘ | บ้านหินลาดน้อย | ๕๑ |
๙ | บ้านทุ่งศรีเมือง | ๔๙ |
ที่มา : กองช่าง เทศบาลตำบลนาเรือง (ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564)
การเกษตร
ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม การทำนาเป็นอาชีพหลัก ทำไร่ยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง และได้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อเป็นอาชีพเสริม เช่น พริก ข้าวโพด มะนาว พุทราสามรส ถั่วฝักยาว แตง ฯลฯ
การปศุสัตว์
ตำบลนาเรือง มีปศุสัตว์ประจำตำบลนาเรือง ๑ คน มีแพทย์อาสาประจำตำบล ๑ คน และมีกลุ่มเลี้ยงสัตว์ดังนี้
ที่ | กลุ่ม | จำนวน (กลุ่ม) | จำนวน (คน) |
---|---|---|---|
๑ | กลุ่มเลี้ยงเป็ด | ๒ | ๓๗ |
๒ | กลุ่มเลี้ยงสุกร | ๑ | ๑๒ |
๓ | กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน | ๑ | ๖๐ |
๔ | กลุ่มเลี้ยงโค | ๑ | ๑๙ |
๕ | กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงสัตว์ | ๑ | ๘ |
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ตำบลนาเรืองมีร้านค้า โรงผลิตน้ำ ขายวัสดุก่อสร้าง/ประปา ปั้มน้ำมัน อู่ซ่อมรถ ฯลฯ มีกลุ่มอาชีพดังนี้
ที่ | กลุมอาชีพ | จำนวน (กลุ่ม) | จำนวน (คน) |
---|---|---|---|
๑ | กลุ่มแม่บ้าน | ๙ | ๓๐๔ |
๒ | กลุ่มเกษตรอินทรีย์ | ๕ | ๕๓ |
๓ | กลุ่มป๋ยอินทรีย์ | ๗ | ๘๐ |
๔ | กลุ่มทอผ้ากี่กระตุก | ๔ | ๑๐๖ |
๕ | กลุ่มเลี้ยงเป็ด | ๒ | ๒๗ |
๖ | กลุ่มเลี้ยงสุกร | ๑ | ๑๒ |
๗ | กลุ่มสานตะกร้า | ๑ | ๓๐ |
๘ | กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน | ๑ | ๖๐ |
๙ | กลุ่มสานตะกร้าพลาสติก | ๑ | ๓๐ |
๑๐ | กลุ่มเลี้ยงโค | ๑ | ๑๙ |
๑๑ | กลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ | ๑ | ๑๙ |
๑๒ | กลุ่มอาสาสมัครสาะารณสุขมูลฐาน | ๙ | ๑๔๐ |
๑๓ | กลุ่มผู้ปลูกยางพารา | ๑ | ๑๖๐ |
แรงงาน
ตำบลนาเรืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แรงงานส่วนมากจะจ้างกันเองในพื้นที่
การนับถือศาสนา
ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชนทั้งหมดในเขตเทศบาล มีวัด ๖ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๓ แห่ง
ประเพณีและงานประจำ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ผังโครงสร้างหน่วยงาน
เทศบาลตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดทำ ประกาศเทศบาลตำบลนาเรือง เรื่อง การกำหนดโครงสร้างส่วนราชการและการแบ่งส่วนราชการภายในเทศบาลตำบลนาเรือง จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
อำนาจหน้าที่
เทศบาลตำบลนาเรือง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562) และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ได้กำหนด อำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลต้องทำ ได้แก่
- รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ให้มีและบำรุงทางบกและทาง
- รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัด มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
- ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
- ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
- ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของทั้งถิ่น
- หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
2. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ได้กำหนด อำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ได้แก่
- ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
- ให้มีโรงฆ่าสัตว์
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
- ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
- บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
- ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
- ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
- เทศพาณิชย์
3. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
- การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
การกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ
มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
ถาม-ตอบ Q&A
- ถาม : เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ออกวันไหนค่ะ ?
- ตอบ : ไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือนคะ
- ถาม : ชำระภาษีโรงเรือนช่วงพักเที่ยงได้ไหมครับ ?
- ตอบ : ได้ค่ะ มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ ไม่พักกลางวันค่ะ
- ถาม : สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าได้รึยังค่ะ ?
- ตอบ : เปิดให้บริการแล้วนะค่ะ
- ถาม : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government e-Service) คืออะไร ?
- ตอบ : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ คือ การให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมของภาครัฐผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับบริการ เกณฑ์ในการพิจารณาว่าระบบสารสนเทศของหน่วยงานจัดว่าเป็นระบบบริการ อิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ครอบคลุมถึงการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลภายนอกหรือไม่ โดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้ง ประชาชน หน่วยราชการ ภาคธุรกิจ และองค์กร และมีการให้ข้อมูล สนับสนุน หรือให้บริการที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานท่านหรือไม่
ประวัติความเป็นมา
ราษฎรส่วนใหญ่ที่อาศัยในเขตพื้นที่ตำบลนาเรือง เดิมเป็นราษฎรที่อาศัยอยู่ที่ ตำบลนาส่วง และ ตำบลนาเยีย ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ซึ่งมักจะมาอยู่อาศัย อยู่ที่นาของตน บ้างก็โยกย้ายมาอยู่ที่นาถาวร จนมีจำนวนครัวเรือนมากขึ้นเรื่อย ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นชุมชนใหม่ขึ้น คือ บ้านนาเรือง และได้ใช้ชื่อนี้เป็นชื่อของ ตำบลนาเรือง ต่อมาได้ยกฐานะจากสภาตำบล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมพาพันธ์ 2540 และยกฐานะเป็น เทศบาลตำบลนาเรือง เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นพื้นที่ราบสูง สลับที่ดอน อยู่ทิศใต้ของอำเภอนาเยีย ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร มีแม่น้ำสายหลัก คือ ลำโดมใหญ่ และมีห้วย หนอง อยู่เป็นจำนวนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ราษฎรใช้ทำการเกษตร เช่น ทำไร่ ทำนา และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น และในช่วงฤดูแล้ง มีการประกอบอาชีพเสริม คือ ทอผ้าและรับจ้างทั่วไป
https://naruang.go.th/purechase/itemlist/category/20-about-us#sigProGalleriaee0b11c643
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
เทศบาลตำบลนาเรือง มีนายกเทศบาลตำบลนาเรือง เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติครม.ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลตำบลนาเรืองให้ “เป็นศูนย์กลางการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งเสริมการศาสนา การศึกษาวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิต”
วิสัยทัศน์
“เป็นศูนย์กลางการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งเสริมการศาสนา การศึกษาวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิต”
พันธกิจ
- พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและทางเท้าให้ครอบคลุมพื้นที่
- ก่อสร้างระบบการจำหน่ายน้ำประปาให้เพียงพอได้มาตรฐานและทั่วถึง
- สนับสนุนการศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรมและการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด
- พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ประชาชน
- มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบต่อไป
- จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและการบริการสาธารณะ จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน
- ปรับปรุงการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
- จัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อบริการประชาชนให้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลข่าวสารด้านอินเตอร์เน็ตให้กับพนักงาน ประชาชนเพื่อทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
จุดมุ่งหมายและภารกิจ
- พัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้สมบูรณ์ตามความเหมาะสมของชุมชน
- พัฒนาทางด้านการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด
- พัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชนให้ทัดเทียมมาตรฐานที่ควรจะเป็น
- พัฒนาทางด้านสาธารณสุข เน้นทางด้านการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพและบริการผู้เจ็บป่วย
- พัฒนาทางด้านสังคม ให้เกิดความสงบ ปลอดภัย รวมถึงพัฒนาสังคมให้เ็ป็นสังคมแห่งศีลธรรม จริยธรรมและลดปัญหายาเสพติด
- พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่เศรษฐกิจชุมชน
- พัฒนางานของเทศบาล ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ตามคำขวัญของเทศบาลว่า “บริการประชาชนคืองานของเรา”